LPN Plate Mill Testing Laboratory

ห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพเหล็ก บริษัท แอล พี เอ็น เพลทมิล จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้น เมื่อเดือนมีนาคม 2538 เพื่อให้บริการตรวจสอบคุณภาพทางด้านเชิงกลและ ทางด้านเคมี งานวิเคราะห์โครงสร้างมหภาคและจุลภาคของเหล็ก

รวมทั้งงานตรวจสอบ แบบไม่ทำลายหลากหลายประเภทตามมาตรฐานสากลโดยได้รับการ รับรองมาตรฐาน มอก.17025 (ISO/IEC 17025) ในการวัดมาตรฐานแรงดึง แรงกระแทก การดัดโค้ง และการวิเคราะห์ส่วนประกอบเคมีของเหล็กและเหล็กกล้าตามมาตรฐาน ASTM

บริการทดสอบทางกล (Mechanical test)

ห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพเหล็กของบริษัทฯ ได้ให้บริการ ทดสอบทางกลสำหรับผลิตภัณฑ์ ของบริษัทฯ เพื่อตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ

โดยเฉพาะอุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอุตสาห กรรมต่อเรือ ฯลฯ ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย เที่ยงตรงและแม่นยำ โดยห้องปฏิบัติการ ทดสอบคุณภาพเหล็กรองรับงานบริการ ดังกล่าวโดยผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญสูงและผ่านการฝึก อบรมมาอย่างดี จึงมั่นใจได้ว่าจะได้ผลการทดสอบ ที่ถูกต้อง และแม่นยำอาทิเช่น

  • การทดสอบแรงดึง (Tensile Strength Test)
  • การทดสอบการดัดโค้ง (Bending Test)
  • การทดสอบแรงกระแทก (Impact Strength Test)
  • การทดสอบความแข็ง (Hardness Test)

บริการทดสอบแบบไม่ทำลาย (Nondestructive testing)

บริการงานตรวจสอบแบบไม่ทำลายเป็นอีกบริการหนึ่งที่ห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพเหล็ก จัดบริการให้กับลูกค้า โดยทีมผู้ตรวจสอบทุกคนที่มีความเชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ ทั้งระดับ 2 ตามมาตรฐาน ASNT เพื่อรองรับงานตรวจสอบแบบไม่ทำลายแก่ลูกค้า ได้แก่ การตรวจแนวเชื่อมของชิ้นงาน เหล็กแผ่น ชิ้นส่วน อุปกรณ์ หรือ โครงสร้างประเภทต่างๆ เช่น ถัง ภาชนะความดัน ใบพัด ท่อ สะพาน เป็นต้น

งานบริการทดสอบแบบไม่ทำลาย ซึ่งห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพเหล็ก รองรับบริการ ได้แก่

  • การวิเคราะห์ด้วยวิธีคลื่นอุลตราโซนิก (Ultrasonic Test)
  • การวิเคราะห์ด้วยวิธีอนุภาคผงแม่เหล็ก (Magnetic Particle Test)
  • การวิเคราะห์ด้วยวิธีสารละลายแทรกซึม (Liquid Penetrant Test)

บริการทดสอบทางเคมีและโลหะวิทยา (Chemical and Metallurgical analysis)

นอกเหนือจากการบริการต่างๆแล้ว ห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพเหล็ก ยังให้บริการงาน ทดสอบทางเคมีและโลหะวิทยา

งานบริการทดสอบทางเคมีและโลหะวิทยาซึ่งห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพเหล็กรองรับ
บริการ ได้แก่

  • การวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมีด้วยสเปกโตรมิเตอร์ (Chemical Analysisby Spectrometer)

Leave a Reply